...

วันอาทิตย์ที่ 26 ธันวาคม พ.ศ. 2553

ความรู้เรื่อง พ.ร.บ. คอมพิวเตอร์

พระราชบัญญัติ
ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์
.. ๒๕๕๐
ภูมิพลอดุลยเดช ป..
ให้ไว้ ณ วันที่ ๑๐ มิถุนายน พ.. ๒๕๕๐
เป็นปีที่ ๖๒ ในรัชกาลปัจจุบัน
                    พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้า ฯ
ให้ประกาศว่า
                  โดยที่เป็นการสมควรมีกฎหมายว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์
                   จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ให้ตราพระราชบัญญัติขึ้นไว้โดยคำแนะนำและยินยอมของ
สภานิติบัญญัติแห่งชาติ ดังต่อไปนี้
                   มาตรา ๑ พระราชบัญญัตินี้เรียกว่า พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับ
คอมพิวเตอร์ พ.. ๒๕๕๐
                   มาตรา ๒ พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนดสามสิบวันนับแต่วันประกาศ
ในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
                   มาตรา ๓ ในพระราชบัญญัตินี้
          ระบบคอมพิวเตอร์หมายความว่า อุปกรณ์หรือชุดอุปกรณ์ของคอมพิวเตอร์ที่เชื่อมการทำงานเข้าด้วยกัน โดยได้มีการกำหนดคำสั่ง ชุดคำสั่ง หรือสิ่งอื่นใด และแนวทางปฏิบัติงานให้อุปกรณ์หรือชุดอุปกรณ์ทำหน้าที่ประมวลผลข้อมูลโดยอัตโนมัติหน้า ๕เล่ม ๑๒๔ ตอนที่ ๒๗ ก ราชกิจจานุเบกษา ๑๘ มิถุนายน ๒๕๕๐
          ข้อมูลคอมพิวเตอร์หมายความว่า ข้อมูล ข้อความ คำสั่ง ชุดคำสั่ง หรือสิ่งอื่นใดบรรดา
ที่อยู่ในระบบคอมพิวเตอร์ในสภาพที่ระบบคอมพิวเตอร์อาจประมวลผลได้ และให้หมายความรวมถึง
ข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ตามกฎหมายว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ด้วย
         ข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์หมายความว่า ข้อมูลเกี่ยวกับการติดต่อสื่อสารของระบบ
คอมพิวเตอร์ ซึ่งแสดงถึงแหล่งกำเนิด ต้นทาง ปลายทาง เส้นทาง เวลา วันที่ ปริมาณ ระยะเวลา
ชนิดของบริการ หรืออื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการติดต่อสื่อสารของระบบคอมพิวเตอร์นั้น
          ผู้ให้บริการหมายความว่า
             () ผู้ให้บริการแก่บุคคลอื่นในการเข้าสู่อินเทอร์เน็ต หรือให้สามารถติดต่อถึงกันโดย
ประการอื่น โดยผ่านทางระบบคอมพิวเตอร์ ทั้งนี้ ไม่ว่าจะเป็นการให้บริการในนามของตนเอง หรือ
ในนามหรือเพื่อประโยชน์ของบุคคลอื่น
             () ผู้ให้บริการเก็บรักษาข้อมูลคอมพิวเตอร์เพื่อประโยชน์ของบุคคลอื่น
        ผู้ใช้บริการหมายความว่า ผู้ใช้บริการของผู้ให้บริการไม่ว่าต้องเสียค่าใช้บริการหรือไม่ก็ตาม
      พนักงานเจ้าหน้าที่หมายความว่า ผู้ซึ่งรัฐมนตรีแต่งตั้งให้ปฏิบัติการตามพระราชบัญญัตินี้
      รัฐมนตรีหมายความว่า รัฐมนตรีผู้รักษาการตามพระราชบัญญัตินี้
          มาตรา ๔ ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารรักษาการตาม
พระราชบัญญัตินี้ และให้มีอำนาจออกกฎกระทรวงเพื่อปฏิบัติการตามพระราชบัญญัตินี้
กฎกระทรวงนั้น เมื่อได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้วให้ใช้บังคับได้
หมวด ๑
ความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์
              มาตรา ๕ ผู้ใดเข้าถึงโดยมิชอบซึ่งระบบคอมพิวเตอร์ที่มีมาตรการป้องกันการเข้าถึง
โดยเฉพาะและมาตรการนั้นมิได้มีไว้สำหรับตน ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหกเดือน หรือปรับไม่เกิน
หนึ่งหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
              มาตรา ๖ ผู้ใดล่วงรู้มาตรการป้องกันการเข้าถึงระบบคอมพิวเตอร์ที่ผู้อื่นจัดทำขึ้นเป็นการเฉพาะถ้านำมาตรการดังกล่าวไปเปิดเผยโดยมิชอบในประการที่น่าจะเกิดความเสียหายแก่ผู้อื่น ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินสองหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
             มาตรา ๗ ผู้ใดเข้าถึงโดยมิชอบซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ที่มีมาตรการป้องกันการเข้าถึงโดยเฉพาะและมาตรการนั้นมิได้มีไว้สำหรับตน ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสองปีหรือปรับไม่เกินสี่หมื่นบาทหรือทั้งจำทั้งปรับ
           มาตรา ๘ ผู้ใดกระทำด้วยประการใดโดยมิชอบด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์เพื่อดักรับไว้
ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ของผู้อื่นที่อยู่ระหว่างการส่งในระบบคอมพิวเตอร์ และข้อมูลคอมพิวเตอร์นั้น
มิได้มีไว้เพื่อประโยชน์สาธารณะหรือเพื่อให้บุคคลทั่วไปใช้ประโยชน์ได้ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน
สามปี หรือปรับไม่เกินหกหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
          มาตรา ๙ ผู้ใดทำให้เสียหาย ทำลาย แก้ไข เปลี่ยนแปลง หรือเพิ่มเติมไม่ว่าทั้งหมดหรือ
บางส่วน ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ของผู้อื่นโดยมิชอบ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินห้าปี หรือปรับไม่เกิน
หนึ่งแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
          มาตรา ๑๐ ผู้ใดกระทำด้วยประการใดโดยมิชอบ เพื่อให้การทำงานของระบบคอมพิวเตอร์
ของผู้อื่นถูกระงับ ชะลอ ขัดขวาง หรือรบกวนจนไม่สามารถทำงานตามปกติได้ต้องระวางโทษจำคุก
ไม่เกินห้าปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
          มาตรา ๑๑ ผู้ใดส่งข้อมูลคอมพิวเตอร์หรือจดหมายอิเล็กทรอนิกส์แก่บุคคลอื่นโดยปกปิด
หรือปลอมแปลงแหล่งที่มาของการส่งข้อมูลดังกล่าว อันเป็นการรบกวนการใช้ระบบคอมพิวเตอร์ของ
บุคคลอื่นโดยปกติสุข ต้องระวางโทษปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท
         มาตรา ๑๒ ถ้าการกระทำความผิดตามมาตรา ๙ หรือมาตรา ๑๐
         () ก่อให้เกิดความเสียหายแก่ประชาชน ไม่ว่าความเสียหายนั้นจะเกิดขึ้นในทันทีหรือ
ในภายหลังและไม่ว่าจะเกิดขึ้นพร้อมกันหรือไม่ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสิบปี และปรับไม่เกิน
สองแสนบาท
          () เป็นการกระทำโดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหายต่อข้อมูลคอมพิวเตอร์ หรือระบบ
คอมพิวเตอร์ที่เกี่ยวกับการรักษาความมั่นคงปลอดภัยของประเทศ ความปลอดภัยสาธารณะ ความมั่นคงในทางเศรษฐกิจของประเทศ หรือการบริการสาธารณะ หรือเป็นการกระทำต่ข้อมูลคอมพิวเตอร์หรือระบบคอมพิวเตอร์ที่มีไว้เพื่อประโยชน์สาธารณะ ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่สามปีถึงสิบห้าปี และปรับตั้งแต่หกหมื่นบาทถึงสามแสนบาทถ้าการกระทำความผิดตาม () เป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่สิบปีถึงยี่สิบปี
             มาตรา ๑๓ ผู้ใดจำหน่ายหรือเผยแพร่ชุดคำสั่งที่จัดทำขึ้นโดยเฉพาะเพื่อนำไปใช้เป็นเครื่องมือ
ในการกระทำความผิดตามมาตรา ๕ มาตรา ๖ มาตรา ๗ มาตรา ๘ มาตรา ๙ มาตรา ๑๐ หรือ
            มาตรา ๑๑ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินสองหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
            มาตรา ๑๔ ผู้ใดกระทำความผิดที่ระบุไว้ดังต่อไปนี้ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินห้าปี หรือ
ปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
           () นำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ปลอมไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วน หรือ
ข้อมูลคอมพิวเตอร์อันเป็นเท็จ โดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหายแก่ผู้อื่นหรือประชาชน
          () นำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์อันเป็นเท็จ โดยประการที่น่าจะเกิด
ความเสียหายต่อความมั่นคงของประเทศหรือก่อให้เกิดความตื่นตระหนกแก่ประชาชน
         () นำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ใด ๆ อันเป็นความผิดเกี่ยวกับความมั่นคง
แห่งราชอาณาจักรหรือความผิดเกี่ยวกับการก่อการร้ายตามประมวลกฎหมายอาญา
         () นำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ใด ๆ ที่มีลักษณะอันลามกและ
ข้อมูลคอมพิวเตอร์นั้นประชาชนทั่วไปอาจเข้าถึงได้
           () เผยแพร่หรือส่งต่อซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์โดยรู้อยู่แล้วว่าเป็นข้อมูลคอมพิวเตอร์ตาม ()
() () หรือ ()
          มาตรา ๑๕ ผู้ให้บริการผู้ใดจงใจสนับสนุนหรือยินยอมให้มีการกระทำความผิดตามมาตรา ๑๔
ในระบบคอมพิวเตอร์ที่อยู่ในความควบคุมของตน ต้องระวางโทษเช่นเดียวกับผู้กระทำความผิดตาม
มาตรา ๑๔
         มาตรา ๑๖ ผู้ใดนำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ที่ประชาชนทั่วไปอาจเข้าถึงได้ซึ่งข้อมูล
คอมพิวเตอร์ที่ปรากฏเป็นภาพของผู้อื่น และภาพนั้นเป็นภาพที่เกิดจากการสร้างขึ้น ตัดต่อ เติม
หรือดัดแปลงด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์หรือวิธีการอื่นใด ทั้งนี้ โดยประการที่น่าจะทำให้ผู้อื่นนั้น
เสียชื่อเสียง ถูกดูหมิ่น ถูกเกลียดชัง หรือได้รับความอับอาย ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามปี หรือ
ปรับไม่เกินหกหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับถ้าการกระทำตามวรรคหนึ่ง เป็นการนำเข้าข้อมูลคอมพิวเตอร์โดยสุจริต ผู้กระทำไม่มีความผิดความผิดตามวรรคหนึ่งเป็นความผิดอันยอมความได้ถ้าผู้เสียหายในความผิดตามวรรคหนึ่งตายเสียก่อนร้องทุกข์ ให้บิดา มารดา คู่สมรส หรือบุตรของผู้เสียหายร้องทุกข์ได้ และให้ถือว่าเป็นผู้เสียหาย
       มาตรา ๑๗ ผู้ใดกระทำความผิดตามพระราชบัญญัตินี้นอกราชอาณาจักร     
       () ผู้กระทำความผิดนั้นเป็นคนไทย และรัฐบาลแห่งประเทศที่ความผิดได้เกิดขึ้นหรือ
ผู้เสียหายได้ร้องขอให้ลงโทษ หรือ
      () ผู้กระทำความผิดนั้นเป็นคนต่างด้าว และรัฐบาลไทยหรือคนไทยเป็นผู้เสียหายและ
ผู้เสียหายได้ร้องขอให้ลงโทษ
จะต้องรับโทษภายในราชอาณาจักร
หมวด ๒
พนักงานเจ้าหน้าที่
        มาตรา ๑๘ ภายใต้บังคับมาตรา ๑๙ เพื่อประโยชน์ในการสืบสวนและสอบสวนในกรณีที่มี
เหตุอันควรเชื่อได้ว่ามีการกระทำความผิดตามพระราชบัญญัตินี้ ให้พนักงานเจ้าหน้าที่มีอำนาจอย่างหนึ่งอย่างใด ดังต่อไปนี้ เฉพาะที่จำเป็นเพื่อประโยชน์ในการใช้เป็นหลักฐานเกี่ยวกับการกระทำความผิดและหาตัวผู้กระทำความผิด
       () มีหนังสือสอบถามหรือเรียกบุคคลที่เกี่ยวข้องกับการกระทำความผิดตามพระราชบัญญัติ
นี้มาเพื่อให้ถ้อยคำ ส่งคำชี้แจงเป็นหนังสือ หรือส่งเอกสาร ข้อมูล หรือหลักฐานอื่นใดที่อยู่ในรูปแบบ
ที่สามารถเข้าใจได้
      () เรียกข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์จากผู้ให้บริการเกี่ยวกับการติดต่อสื่อสารผ่านระบบ
คอมพิวเตอร์หรือจากบุคคลอื่นที่เกี่ยวข้อง
        () สั่งให้ผู้ให้บริการส่งมอบข้อมูลเกี่ยวกับผู้ใช้บริการที่ต้องเก็บตามมาตรา ๒๖ หรือที่อยู่
ในความครอบครองหรือควบคุมของผู้ให้บริการให้แก่พนักงานเจ้าหน้าที่
         () ทำสำเนาข้อมูลคอมพิวเตอร์ ข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์ จากระบบคอมพิวเตอร์
ที่มีเหตุอันควรเชื่อได้ว่ามีการกระทำความผิดตามพระราชบัญญัตินี้ ในกรณีที่ระบบคอมพิวเตอร์นั้นยังมิได้อยู่ในความครอบครองของพนักงานเจ้าหน้าที่
        () สั่งให้บุคคลซึ่งครอบครองหรือควบคุมข้อมูลคอมพิวเตอร์ หรืออุปกรณ์ที่ใช้เก็บ
ข้อมูลคอมพิวเตอร์ ส่งมอบข้อมูลคอมพิวเตอร์ หรืออุปกรณ์ดังกล่าวให้แก่พนักงานเจ้าหน้าที่
         () ตรวจสอบหรือเข้าถึงระบบคอมพิวเตอร์ ข้อมูลคอมพิวเตอร์ ข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์
หรืออุปกรณ์ที่ใช้เก็บข้อมูลคอมพิวเตอร์ของบุคคลใด อันเป็นหลักฐานหรืออาจใช้เป็นหลักฐานเกี่ยวกับการกระทำความผิด หรือเพื่อสืบสวนหาตัวผู้กระทำความผิดและสั่งให้บุคคลนั้นส่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์ ที่เกี่ยวข้องเท่าที่จำเป็นให้ด้วยก็ได้
         () ถอดรหัสลับของข้อมูลคอมพิวเตอร์ของบุคคลใด หรือสั่งให้บุคคลที่เกี่ยวข้องกับการ
เข้ารหัสลับของข้อมูลคอมพิวเตอร์ ทำการถอดรหัสลับ หรือให้ความร่วมมือกับพนักงานเจ้าหน้าที่ใน
การถอดรหัสลับดังกล่าว
          () ยึดหรืออายัดระบบคอมพิวเตอร์เท่าที่จำเป็นเฉพาะเพื่อประโยชน์ในการทราบรายละเอียด
แห่งความผิดและผู้กระทำความผิดตามพระราชบัญญัตินี้
              มาตรา ๑๙ การใช้อำนาจของพนักงานเจ้าหน้าที่ตามมาตรา ๑๘ () () () () และ() ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ยื่นคำร้องต่อศาลที่มีเขตอำนาจเพื่อมีคำสั่งอนุญาตให้พนักงานเจ้าหน้าที่ดำเนินการตามคำร้อง ทั้งนี้ คำร้องต้องระบุเหตุอันควรเชื่อได้ว่าบุคคลใดกระทำหรือกำลังจะกระทำการ
อย่างหนึ่งอย่างใดอันเป็นความผิดตามพระราชบัญญัตินี้ เหตุที่ต้องใช้อำนาจ ลักษณะของการกระทำ
ความผิด รายละเอียดเกี่ยวกับอุปกรณ์ที่ใช้ในการกระทำความผิดและผู้กระทำความผิด เท่าที่สามารถ
จะระบุได้ ประกอบคำร้องด้วยในการพิจารณาคำร้องให้ศาลพิจารณาคำร้องดังกล่าวโดยเร็ว
เมื่อศาลมีคำสั่งอนุญาตแล้ว ก่อนดำเนินการตามคำสั่งของศาล ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ส่งสำเนา
บันทึกเหตุอันควรเชื่อที่ทำให้ต้องใช้อำนาจตามมาตรา ๑๘ () () () () และ () มอบให้
เจ้าของหรือผู้ครอบครองระบบคอมพิวเตอร์นั้นไว้เป็นหลักฐาน แต่ถ้าไม่มีเจ้าของหรือผู้ครอบครอง
เครื่องคอมพิวเตอร์อยู่ ณ ที่นั้น ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ส่งมอบสำเนาบันทึกนั้นให้แก่เจ้าของหรือ
ผู้ครอบครองดังกล่าวในทันทีที่กระทำได้
ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ผู้เป็นหัวหน้าในการดำเนินการตามมาตรา ๑๘ () () () () และ
() ส่งสำเนาบันทึกรายละเอียดการดำเนินการและเหตุผลแห่งการดำเนินการให้ศาลที่มีเขตอำนาจ
ภายในสี่สิบแปดชั่วโมงนับแต่เวลาลงมือดำเนินการ เพื่อเป็นหลักฐาน
การทำสำเนาข้อมูลคอมพิวเตอร์ตามมาตรา ๑๘ () ให้กระทำได้เฉพาะเมื่อมีเหตุอันควรเชื่อ
ได้ว่ามีการกระทำความผิดตามพระราชบัญญัตินี้ และต้องไม่เป็นอุปสรรคในการดำเนินกิจการของ
เจ้าของหรือผู้ครอบครองข้อมูลคอมพิวเตอร์นั้นเกินความจำเป็นการยึดหรืออายัดตามมาตรา ๑๘ () นอกจากจะต้องส่งมอบสำเนาหนังสือแสดงการยึดหรืออายัดมอบให้เจ้าของหรือผู้ครอบครองระบบคอมพิวเตอร์นั้นไว้เป็นหลักฐานแล้วพนักงานเจ้าหน้าที่จะสั่งยึดหรืออายัดไว้เกินสามสิบวันมิได้ ในกรณีจำเป็นที่ต้องยึดหรืออายัดไว้นานกว่านั้น ให้ยื่นคำร้องต่อศาลที่มีเขตอำนาจเพื่อขอขยายเวลายึดหรืออายัดได้ แต่ศาลจะอนุญาตให้ขยายเวลาครั้งเดียวหรือหลายครั้งรวมกันได้อีกไม่เกินหกสิบวัน เมื่อหมดความจำเป็นที่จะยึดหรืออายัดหรือครบกำหนดเวลาดังกล่าวแล้ว พนักงานเจ้าหน้าที่ต้องส่งคืนระบบคอมพิวเตอร์ที่ยึดหรือถอนการอายัดโดยพลันหนังสือแสดงการยึดหรืออายัดตามวรรคห้าให้เป็นไปตามที่กำหนดในกฎกระทรวง
               มาตรา ๒๐ ในกรณีที่การกระทำความผิดตามพระราชบัญญัตินี้เป็นการทำให้แพร่หลาย
ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ที่อาจกระทบกระเทือนต่อความมั่นคงแห่งราชอาณาจักรตามที่กำหนดไว้ในภาคสองลักษณะ ๑ หรือลักษณะ ๑/๑ แห่งประมวลกฎหมายอาญา หรือที่มีลักษณะขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน พนักงานเจ้าหน้าที่โดยได้รับความเห็นชอบจากรัฐมนตรีอาจยื่นคำร้องพร้อมแสดงพยานหลักฐานต่อศาลที่มีเขตอำนาจขอให้มีคำสั่งระงับการทำให้แพร่หลายซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์นั้นได้ในกรณีที่ศาลมีคำสั่งให้ระงับการทำให้แพร่หลายซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ตามวรรคหนึ่ง ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ทำการระงับการทำให้แพร่หลายนั้นเอง หรือสั่งให้ผู้ให้บริการระงับการทำให้แพร่หลายซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์นั้นก็ได้
            มาตรา ๒๑ ในกรณีที่พนักงานเจ้าหน้าที่พบว่า ข้อมูลคอมพิวเตอร์ใดมีชุดคำสั่งไม่พึง
ประสงค์รวมอยู่ด้วย พนักงานเจ้าหน้าที่อาจยื่นคำร้องต่อศาลที่มีเขตอำนาจเพื่อขอให้มีคำสั่งห้าม
จำหน่ายหรือเผยแพร่ หรือสั่งให้เจ้าของหรือผู้ครอบครองข้อมูลคอมพิวเตอร์นั้นระงับการใช้ ทำลาย
หรือแก้ไขข้อมูลคอมพิวเตอร์นั้นได้ หรือจะกำหนดเงื่อนไขในการใช้ มีไว้ในครอบครอง หรือ
เผยแพร่ชุดคำสั่งไม่พึงประสงค์ดังกล่าวก็ได้
ชุดคำสั่งไม่พึงประสงค์ตามวรรคหนึ่งหมายถึงชุดคำสั่งที่มีผลทำให้ข้อมูลคอมพิวเตอร์ หรือ
ระบบคอมพิวเตอร์หรือชุดคำสั่งอื่นเกิดความเสียหาย ถูกทำลาย ถูกแก้ไขเปลี่ยนแปลงหรือเพิ่มเติม
ขัดข้อง หรือปฏิบัติงานไม่ตรงตามคำสั่งที่กำหนดไว้ หรือโดยประการอื่นตามที่กำหนดในกฎกระทรวงทั้งนี้ เว้นแต่เป็นชุดคำสั่งที่มุ่งหมายในการป้องกันหรือแก้ไขชุดคำสั่งดังกล่าวข้างต้น ตามที่รัฐมนตรีประกาศในราชกิจจานุเบกษา
              มาตรา ๒๒ ห้ามมิให้พนักงานเจ้าหน้าที่เปิดเผยหรือส่งมอบข้อมูลคอมพิวเตอร์ ข้อมูล
จราจรทางคอมพิวเตอร์ หรือข้อมูลของผู้ใช้บริการ ที่ได้มาตามมาตรา ๑๘ ให้แก่บุคคลใด
ความในวรรคหนึ่งมิให้ใช้บังคับกับการกระทำเพื่อประโยชน์ในการดำเนินคดีกับผู้กระทำความผิด
ตามพระราชบัญญัตินี้ หรือเพื่อประโยชน์ในการดำเนินคดีกับพนักงานเจ้าหน้าที่เกี่ยวกับการใช้อำนาจหน้าที่โดยมิชอบ หรือเป็นการกระทำตามคำสั่งหรือที่ได้รับอนุญาตจากศาลพนักงานเจ้าหน้าที่ผู้ใดฝ่าฝืนวรรคหนึ่งต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกิน
หกหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
            มาตรา ๒๓ พนักงานเจ้าหน้าที่ผู้ใดกระทำโดยประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่นล่วงรู้ข้อมูลคอมพิวเตอร์ข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์ หรือข้อมูลของผู้ใช้บริการ ที่ได้มาตามมาตรา ๑๘ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินสองหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
           มาตรา ๒๔ ผู้ใดล่วงรู้ข้อมูลคอมพิวเตอร์ ข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์หรือข้อมูลของ
ผู้ใช้บริการ ที่พนักงานเจ้าหน้าที่ได้มาตามมาตรา ๑๘ และเปิดเผยข้อมูลนั้นต่อผู้หนึ่งผู้ใด ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสองปี หรือปรับไม่เกินสี่หมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
           มาตรา ๒๕ ข้อมูล ข้อมูลคอมพิวเตอร์ หรือข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์ที่พนักงานเจ้าหน้าที่
ได้มาตามพระราชบัญญัตินี้ ให้อ้างและรับฟังเป็นพยานหลักฐานตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมาย
วิธีพิจารณาความอาญาหรือกฎหมายอื่นอันว่าด้วยการสืบพยานได้ แต่ต้องเป็นชนิดที่มิได้เกิดขึ้นจากการจูงใจมีคำมั่นสัญญา ขู่เข็ญ หลอกลวง หรือโดยมิชอบประการอื่น
           มาตรา ๒๖ ผู้ให้บริการต้องเก็บรักษาข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์ไว้ไม่น้อยกว่าเก้าสิบวัน
นับแต่วันที่ข้อมูลนั้นเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ แต่ในกรณีจำเป็นพนักงานเจ้าหน้าที่จะสั่งให้ผู้ให้บริการ
ผู้ใดเก็บรักษาข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์ไว้เกินเก้าสิบวันแต่ไม่เกินหนึ่งปีเป็นกรณีพิเศษเฉพาะราย
และเฉพาะคราวก็ได้ผู้ให้บริการจะต้องเก็บรักษาข้อมูลของผู้ใช้บริการเท่าที่จำเป็นเพื่อให้สามารถระบุตัวผู้ใช้บริการนับตั้งแต่เริ่มใช้บริการและต้องเก็บรักษาไว้เป็นเวลาไม่น้อยกว่าเก้าสิบวันนับตั้งแต่การใช้บริการสิ้นสุดลงความในวรรคหนึ่งจะใช้กับผู้ให้บริการประเภทใด อย่างไร และเมื่อใด ให้เป็นไปตามที่รัฐมนตรีประกาศในราชกิจจานุเบกษาผู้ให้บริการผู้ใดไม่ปฏิบัติตามมาตรานี้ ต้องระวางโทษปรับไม่เกินห้าแสนบาท
             มาตรา ๒๗ ผู้ใดไม่ปฏิบัติตามคำสั่งของศาลหรือพนักงานเจ้าหน้าที่ที่สั่งตามมาตรา ๑๘
หรือมาตรา ๒๐ หรือไม่ปฏิบัติตามคำสั่งของศาลตามมาตรา ๒๑ ต้องระวางโทษปรับไม่เกินสองแสนบาทและปรับเป็นรายวันอีกไม่เกินวันละห้าพันบาทจนกว่าจะปฏิบัติให้ถูกต้อง
            มาตรา ๒๘ การแต่งตั้งพนักงานเจ้าหน้าที่ตามพระราชบัญญัตินี้ ให้รัฐมนตรีแต่งตั้งจากผู้มีความรู้และความชำนาญเกี่ยวกับระบบคอมพิวเตอร์และมีคุณสมบัติตามที่รัฐมนตรีกำหนด
            มาตรา ๒๙ ในการปฏิบัติหน้าที่ตามพระราชบัญญัตินี้ ให้พนักงานเจ้าหน้าที่เป็นพนักงาน
ฝ่ายปกครองหรือตำรวจชั้นผู้ใหญ่ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามีอำนาจรับคำร้องทุกข์
หรือรับคำกล่าวโทษ และมีอำนาจในการสืบสวนสอบสวนเฉพาะความผิดตามพระราชบัญญัตินี้
ในการจับ ควบคุม ค้น การทำสำนวนสอบสวนและดำเนินคดีผู้กระทำความผิดตาม
พระราชบัญญัตินี้ บรรดาที่เป็นอำนาจของพนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจชั้นผู้ใหญ่ หรือพนักงาน
สอบสวนตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ประสานงานกับพนักงานสอบสวนผู้รับผิดชอบเพื่อดำเนินการตามอำนาจหน้าที่ต่อไป
ให้นายกรัฐมนตรีในฐานะผู้กำกับดูแลสำนักงานตำรวจแห่งชาติและรัฐมนตรีมีอำนาจร่วมกัน
กำหนดระเบียบเกี่ยวกับแนวทางและวิธีปฏิบัติในการดำเนินการตามวรรคสอง
              มาตรา ๓๐ ในการปฏิบัติหน้าที่ พนักงานเจ้าหน้าที่ต้องแสดงบัตรประจำตัวต่อบุคคล
ซึ่งเกี่ยวข้องบัตรประจำตัวของพนักงานเจ้าหน้าที่ให้เป็นไปตามแบบที่รัฐมนตรีประกาศในราชกิจจานุเบกษา

ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ
พลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์
นายกรัฐมนตรี

หมายเหตุ : เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ เนื่องจากในปัจจุบันระบบคอมพิวเตอร์ได้เป็นส่วนสำคัญของการประกอบกิจการและการดำรงชีวิตของมนุษย์ หากมีผู้กระทำด้วยประการใด ๆ ให้ระบบคอมพิวเตอร์ไม่สามารถทำงานตามคำสั่งที่กำหนดไว้หรือทำให้การทำงานผิดพลาดไปจากคำสั่งที่กำหนดไว้ หรือใช้วิธีการใด ๆ เข้าล่วงรู้ข้อมูล แก้ไข หรือทำลายข้อมูลของบุคคลอื่นในระบบคอมพิวเตอร์โดยมิชอบ หรือใช้ระบบคอมพิวเตอร์เพื่อเผยแพร่ข้อมูลคอมพิวเตอร์อันเป็นเท็จหรือมีลักษณะอันลามกอนาจาร ย่อมก่อให้เกิดความเสียหาย กระทบกระเทือนต่อเศรษฐกิจ สังคม และความมั่นคงของรัฐ รวมทั้งความสงบสุขและศีลธรรมอันดีของประชาชน สมควรกำหนดมาตรการเพื่อป้องกันและปราบปรามการกระทำดังกล่าว จึงจำเป็น
ต้องตราพระราชบัญญัตินี้

ความรู้เรื่องบล็อก

BLOG
Blog คืออะไร
      Blog มาจากศัพท์คำว่า WeBlog บางคนอ่านคำ ๆ นี้ว่า We Blog บางคนอ่านว่า Web Log แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น ทั้งสองคำบ่งบอกถึงความหมายเดียวกัน ว่านั่นคือบล็อก (Blog)
      ความหมายของคำว่า Blog ก็คือการบันทึกบทความของตนเอง (Personal Journal) ลงบนเว็บไซต์ โดยเนื้อหาของ blog นั้นจะครอบคลุมได้ทุกเรื่อง ไม่ว่าจะเป็นเรื่องราวส่วนตัว หรือเป็นบทความเฉพาะด้านต่าง ๆ เช่น เรื่องการเมือง เรื่องกล้องถ่ายรูป เรื่องกีฬา เรื่องธุรกิจ เป็นต้น โดยจุดเด่นที่ทำให้บล็อกเป็นที่นิยมก็คือ ผู้เขียนบล็อก จะมีการแสดงความคิดเห็นของตนเองใส่ลงไปในบทความนั้น ๆ โดยบล็อกบางแห่ง จะมีอิทธิพลในการโน้มน้าวจิตใจผู้อ่านสูงมาก แต่ในขณะเดียวกัน บางบล็อกก็จะเขียนขึ้นมาเพื่อให้อ่านกันในกลุ่มเฉพาะ เช่นกลุ่มเพื่อน ๆ หรือครอบครัวตนเอง
      มีหลายครั้งที่เกิดความเข้าใจกันผิดว่า Blog เป็นได้แค่ไดอารี่ออนไลน์ แต่ในความเป็นจริงแล้ว ไดอารี่ออนไลน์เปรียบเสมือน เนื้อหาประเภทหนึ่งของบล็อกเท่านั้น เพราะบล็อกมีเนื้อหาที่หลากหลายประเภท ตั้งแต่การบันทึกเรื่องส่วนตัวอย่างเช่นไดอารี่ หรือการบันทึกบทความที่ผู้เขียนบล็อกสนใจในด้านอื่นด้วย ที่เห็นชัดเจนคือ เนื้อหาบล็อกประเภท วิจารณ์การเมือง หรือการรีวิวผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ ที่ตัวเองเคยใช้ หรือซื้อมานั่นเอง อีกทั้งยังสามารถแตกแขนงไปในเนื้อหาในประเภทต่าง ๆ อีกมากมาย ตามแต่ที่เจ้าของบล็อกจะเป็นคนที่ถนัดในด้านไหน ก็มักจะเขียนบทความเรื่องที่ตนเองถนัด หรือสนใจเป็นต้น
     และจุดเด่นที่สุดของ Blog ก็คือ มันสามารถเป็นเครื่องมือสื่อสารชนิดหนึ่ง ที่สามารถสื่อถึงความเป็นกันเองระหว่างผู้เขียนบล็อก และผู้อ่านบล็อกที่เป็นกลุ่มเป้าหมายที่ชัดเจนของบล็อกนั้น ๆ ผ่านทางระบบ comment ของบล็อกนั่นเอง
      ในอดีตแรกเริ่ม คนที่เขียน Blog นั้นยังทำกันในระบบ Manual คือเขียนเว็บเองทีละหน้า แต่ในปัจจุบันนี้ มีเครื่องมือหรือซอฟท์แวร์ให้เราใช้ในการเขียน Blog ได้มากมาย เช่น WordPress, Movable Type เป็นต้น
     ผู้คนหลายล้านคนจากทั่วทุกมุมโลก หันมาเขียน Blog กันอย่างแพร่หลาย ตั้งแต่นักเรียน อาจารย์ นักเขียน ตลอดจนถึงระดับบริษัทยักษ์ใหญ่ในตลาดหุ้น NasDaq
    
     เมื่อสองสามปีที่ผ่านมา Blog เริ่มต้นมาจากการเขียนเป็นงานอดิเรกของกลุ่มสื่ออิสระต่าง ๆ หลาย ๆ แห่งกลายเป็นแหล่งข่าวสำคัญให้กับหนังสือพิมพ์หรือสำนักข่าวชั้นนำ จวบจนกระทั่งปี 2004 คนเขียน Blog ก็ได้รับการยอมรับจากสื่อและสำนักข่าวต่าง ๆ ถึงความรวดเร็วในการให้ข้อมูลตั้งแต่เรื่องการเมืองไปจนกระทั่งเรื่องราวของการประชุมระดับชาติ
      และจากเหตุการณ์เหล่านี้ นับได้ว่า Blog เป็นสื่อชนิดหนึ่งที่ไม่ต่างจาก วีดีโอ , สิ่งพิมพ์ , โทรทัศน์ หรือแม้กระทั่งวิทยุ เราสามารถเรียกได้ว่า Blog ได้เข้ามาเป็นสื่อชนิดใหม่ที่สำคัญอย่างแท้จริง
      สรุปให้ง่าย ๆ สั้น ๆ ก็คือ Blog คือเว็บไซต์ที่มีรูปแบบเนื้อหาเป็นเหมือนบันทึกส่วนตัวออนไลน์ มีส่วนของการ comments และก็จะมี link ไปยังเว็บอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องอีกด้วย

โครงสร้างของ Blog
      มาดูเรื่องกายวิภาคของ Blog กันดีกว่า ว่า blog นั้นมีส่วนประกอบที่สำคัญอะไรบ้าง จะได้รู้ว่าเราจะใช้ประโยชน์จากส่วนต่าง ๆ ของ blog นั้นได้อย่างเต็มที่

      1. ชื่อบล็อก (Blog Title)
   ส่วนของ Blog Title นี้ก็จะเป็นชื่อบล็อกนั้น ๆ ครับ
      2. แท็กไลน์ (Subtitle หรือ Tag line)
   ตรงส่วนนี้จะเป็นคำจำกัดความของเว็บ หรือสโลแกนเก๋ ๆ ที่ใช้อธิบายถึงตัวบล็อกโดยรวม โดยตัวแท็กไลน์นี้ จะมีก็ได้ หรือไม่มีก็ได้ เพราะมันไม่สำคัญเท่ากับชื่อบล็อกครับ
     3. วันที่และเวลา (Date & Time Stamp)
   เป็นวันที่ และบางทีอาจมีเวลากำกับอยู่ด้วย ตัววันที่และเวลานี้ จะเป็นตัวบอกว่าบทความในบล็อกนั้นเขียนขึ้นมาเมื่อไหร่ บางครั้งอาจมีวันที่ระบุอยู่ในส่วนของ comment ด้วย ซึ่งจะเป็นการบ่งบอกว่า comment นั้นเขียนเข้ามาเมื่อไหร่เช่นกัน
     4. ชื่อบทความ (Entry Title)
   ชื่อเรื่องของบทความที่เขียนในบล็อก
     5. ตัวเนื้อหาบทความ (Entry’s Main Body)
   อาจเป็นตัวหนังสือ หรืออาจเป็นรูปภาพ วีดีโอ หรืออนิเมชั่น เป็นต้น โดยส่วนประกอบเหล่านี้จะรวมเป็นส่วนเนื้อหาของบทความ
     6. ชื่อผู้เขียน (Blog Author)
   บางบล็อก อาจมีการระบุชื่อผู้เขียนไว้ในบล็อกด้วยครับ โดยตำแหน่งที่จะใส่ชื่อผู้เขียนนั้น สามารถไว้ที่ตำแหน่งใดก็ได้ เช่นด้านข้าง (sidebar) หรืออยู่ในตัวบทความก็ได้
     7. คอมเม้นต์ (Comment tag)
   เป็นลิงค์ที่ให้ผู้อ่านคลิกไปเพื่อกรอกคอมเม้นต์ให้กับบล็อกนั้น ๆ ได้
     8. ลิงค์ถาวร (Permalink)
   เรียกชื่อไทยแล้วเขิ้นเขิน เราสามารถเรียกทับศัพท์ก็ได้ครับว่า เพอร์มาลิ้งค์ เจ้าลิงค์ตัวนี้คือลิงค์ที่ไปหา url ของบทความนั้น ๆ โดยตรงครับ มีประโยชน์สำหรับ blogger คนอื่น ๆ ที่อยากจะทำลิงค์หาบทความของเราโดยตรง ก็จะสามารถหา permalink ได้อย่างง่ายดายครับ โดย url ของ permalink นี้จะไม่เปลี่ยนไปตามวันและเวลาเหมือน link ของหน้าแรกของบล็อกที่บทความจะเปลี่ยนไปเรื่อย ๆ ครับ นี่แหละครับที่เค้าเรียกว่า ลิงค์ถาวร
    9. ปฎิทิน (Calendar)
   บล็อกบางแห่งอาจมีปฎิทินอยู่ด้วย โดยในปฎิทินนั้นสามารกคลิกตามวันที่ เพื่ออ่านบทความของวันที่นั้น ๆ ได้สะดวกครับ
   10. บทความย้อนหลัง (Archives)
  บทความเก่า หรือบทความย้อนหลัง อาจมีการจัดเตรียมไว้โดยเจ้าของบล็อก โดยบล็อกแต่ละแห่งอาจจัดเรียงบทความย้อนหลัง ไม่เหมือนกัน เช่นจัดเรียงรายเดือน รายสัปดาห์ รายวัน หรือจะ list บทความทั้งหมดออกมาเลยก็ได้
   11. ลิงค์ไปยังเว็บอื่น (Links)
   เป็นจุดเด่นและความสนุกของบล็อกอีกอย่างหนึ่งเลยทีเดียวครับ โดยบล็อกแต่ละแห่ง อาจมีลิงค์ไปยังเว็บอื่นหลากหลายเว็บ บางครั้งเราสามารถเรียก link พวกนี้ว่า blogroll ก็ได้ครับ
   12. RSS หรือ XML
   ตัว RSS นี้อาจมีเตรียมไว้ให้เราโดยอัตโนมัติ ขึ้นอยู่กับ Blogware หรือ Blog Host ที่เราเลือกใช้ เช่น WordPress หรือ MovableType นั้นจะมี RSS ลิงค์ไว้ให้เราโดยอัตโนมัติ โดยเจ้า RSS Feed นี้จะช่วยให้ผู้อ่านเข้าถึงบทความของเราได้ง่ายขึ้น โดยการใช้โปรแกรมช่วยอ่าน Feed ได้ด้วย บางครั้งนักเขียน Blog คนอื่น ก็อาจใช้ RSS Feed นี้เพื่อประโยชน์ในการดึงข้อมูลไปแสดงในเว็บ หรือบล็อกของตนได้


เทคนิคของการสร้าง Blog
           ถ้าต้องการสร้างบล็อกให้เป็นอย่างมืออาชีพ คุณต้องไม่ลืมที่จะใส่ใจในสิ่งเหล่านี้
  
   1. ใส่ใจกับรูปแบบดีไซน์ของ blog
   ลองสังเกตดูง่าย ๆ สำหรับบล็อกชั้นนำของโลก ต่างก็ไม่ได้ใช้ template แจกฟรีที่มีกันทั่วไป แต่บล็อกชั้นนำเหล่านี้ ต่างก็ออกแบบดีไซน์ของบล็อกขึ้นมาเองทั้งหมด ทำให้บล็อกนั้นดูมีความแตกต่าง และมีความเป็นมืออาชีพมากยิ่งขึ้น
   2. ใส่ใจกับเนื้อหาของบล็อก
   ก่อนที่คุณจะสร้างบล็อกขึ้นมาซักแห่งหนึ่ง ลองวางแนวทางของเนื้อหาในบล็อกดูก่อน ว่าเราต้องการจะนำเสนอบทความรูปแบบไหน เราจะมีวิธีนำเสนอไปในทางใด สิ่งเหล่านี้ จะทำให้คุณไม่หลุดประเด็น จากที่คุณตั้งใจไว้ตั้งแต่แรก เช่น บล็อกของ keng.com ต้องการจะเป็น บล็อกที่นำเสนอข้อมูลด้านการทำบล็อก ดังนั้นควรวางแนวทางไว้ว่า ต้องมีข่าวสารวงการบล็อกทั่วโลก มาให้ผู้อ่านได้อ่านกัน และยังต้องมีเทคนิคการทำบล็อกสำหรับมือใหม่ เช่นบทความเรื่อง blog คืออะไร?” และมีเทคนิคสำหรับขั้นผู้เชี่ยวชาญ เช่นการใส่ Tag หรือการ Ping ไปยัง blog search engine เป็นต้น ตัวอย่างข้างต้น ดังเช่นตัวอย่างบทความ ที่ได้เขียนขึ้นมาเหล่านี้ เป็นแนวทาง ในการกำหนดทิศทางของบล็อก
   3. ใส่ใจผู้อ่าน มากกว่าใส่ใจตัวเอง
   เนื้อหาของบล็อกเป็นสิ่งที่ผู้อ่านใส่ใจใคร่รู้ ไม่ใช่ป้ายโฆษณาที่เราวางระเกะระกะในเว็บไซต์แต่อย่างใด ดังนั้นการจัดรูปแบบโฆษณา ต้องคำนึงถึงจิตใจผู้อ่านด้วย ว่าถ้าเป็นเราเอง ไปอ่านบล็อกคนอื่น แล้วมีโฆษณามาเกะกะในตัวบทความ เราชอบหรือไม่ โดยทั่วไปแล้ว ถ้าบทความของเราเขียนได้ดี ผู้อ่านก็จะมาอ่านซ้ำแล้วซ้ำอีก และอาจมีผู้อ่านมากขึ้นทุก ๆ วัน หลังจากนั้นแล้ว รายได้จากค่าโฆษณาจะตามมาเอง โดยที่เราไม่ต้องไปใส่โฆษณา แทรกลงไปในตัวบทความอีกด้วย
   4. ใส่ใจ comment ที่มีเข้ามา
   บล็อกสามารถใช้ประโยชน์ของการสื่อสาร ได้ด้วยระบบ comment ในตัวเอง ซึ่งโปรแกรมสร้างบล็อก (ฺBlogware) ส่วนใหญ่ มีระบบ comment ติดมาให้ด้วยอยู่แล้ว ลองใช้ระบบนี้ให้เกิดประโยชน์ ไม่ว่าจะเป็นการอ่าน comment การตอบ comment ต่าง ๆ บางครั้งเราอาจได้ประโยชน์จากการดึงประเด็นเด็ด ๆ จาก comment มาใช้เขียนบทความก็เป็นได้ ดังนั้น ทุก ๆ วันควรที่จะตรวจสอบว่ามี comment ใดเข้ามาบ้าง เพื่อที่จะได้ตอบได้ทันท่วงที เมื่อเราตอบได้เร็ว ผู้อ่านมีอารมณ์ร่วมในการสื่อสาร ทั้งสองฝ่ายก็แฮปปี้ และจุดสำคัญอีกอย่างหนึ่งถ้าเราตรวจสอบ comment ทุกวันก็คือ เราสามารถลบพวก spam comment ออกได้อย่างทันควันไงครับ
   5. ใส่ใจในมาตรฐานของเว็บไซต์
   ไม่มีใครรู้ว่าบล็อกของเราจะมีคนเข้ามาอ่านมากแค่ไหน บางครั้งเราอาจต้องมีการปรับปรุงเว็บไซต์ หรือบางครั้งเราอาจต้องมีการปรับแต่งดีไซน์ เพื่อรองรับการขยายตัวอย่างที่เราไม่คาดฝัน ลองมองไปถึงการดีไซน์บล็อกด้วย มาตรฐานของเว็บไซต์ (Web Standard) ซึ่งจะสามารถทำให้บล็อกของเรา แสดงผลได้ดีในทุก browser และลองพยายามใช้ css ในทุก ๆ ส่วนที่คุณทำได้ เพราะตัว css นี้มีความยืดหยุ่นสูง ถ้าเราต้องมีการเปลี่ยนแปลงดีไซน์ต่าง ๆ เราจะได้ปรับเฉพาะแค่ไฟล์ css แทนที่จะไปแก้ html ในแต่ละหน้า ลองนึกดูว่า ถ้าวันใดที่มีบทความประมาณ 1,000 บทความ แต่ต้องมานั่งแก้สีของกรอบรูปภาพ ที่เคยเขียนโค๊ดใส่ border เข้าไปที่โค๊ดของรูปภาพโดยตรง แทนที่จะแก้ไขที่ไฟล์ css แค่บรรทัดเดียว
   6. จัดตารางเวลาในการเขียนให้เหมาะสม
   เมื่อตอนเริ่มเขียนบล็อก อาจใช้เวลาไม่มากนักในการเขียนบทความ แต่เมื่อเขียนมากขึ้นเรื่อย ๆ จากวันเป็นเดือน จากเดือนเป็นปี แน่นอนว่าคงต้องมีการกระทบกับเวลาการทำงานอื่น ๆ เช่นกัน ดังนั้นลองจัดสรรเวลาสำหรับเขียนบล็อก อาจจะตื่นเช้าสักหน่อย ใช้เวลาในช่วงเช้าก่อนไปทำงาน เขียนบทความสักหนึ่งตอน หรือจะเขียนบทความในช่วงดึก ๆ ก่อนนอนก็ได้ ตรงนี้แล้วแต่คน ว่าจะสะดวกแบบไหน หรือมีเวลาว่างในตอนอื่น ๆ ลองปรับให้เหมาะสมกับตัวเอง
   7. ใส่ใจเรื่องขนาดของภาพประกอบบทความ
   ไก่งามเพราะขน คนงามเพราะแต่งฉันท์ใด บล็อกย่อมงามเพราะดีไซน์และภาพประกอบ ลองทำความรู้จักกับรูปแบบของไฟล์ภาพชนิดต่าง ๆ เช่นไฟล์ที่มีนามสกุลเป็น .gif นั้น สามารถแสดงผลได้สูงสุด 256 สี แต่ไฟล์ภาพที่เป็นนามสกุล .jpg นั้นสามารถแสดงผลได้สูงสุด 16 ล้านสี ดังนั้นการเลือกที่จะเซฟภาพเป็นไฟล์นามสกุลอะไรนั้น เป็นสิ่งจำเป็นอย่างมาก เพราะหากเลือกชนิดไฟล์ผิด ภาพที่ออกมาจะไม่สวย และไฟล์อาจมีขนาดใหญ่ผิดปกติ นั่นจะเป็นสิ่งที่กินทรัพยากรของระบบ และบล็อกมากขึ้นไปอีก เพราะถ้ามีผู้อ่านเยอะ แต่ต้องรอโหลดภาพที่ใหญ่ผิดปกติ ผู้อ่านบางท่านอาจจะเลิกรอเลย วิธีง่าย ๆ ในการเซฟภาพมีดังนี้ หากเป็นภาพถ่าย แนะนำให้ใช้เป็น jpg ส่วนถ้าเป็นไฟล์โลโก้ หรือภาพที่มีจำนวนสีน้อย ๆ ลองใช้เป็น gif ดู

ทำไมBlogถึงได้รับความนิยม
      ความสะดวกและง่ายดายของการเขียนบล็อก หรือสร้างบล็อกขึ้นมาสักหนึ่งแห่ง ทำให้ผู้คนนับล้าน ได้ทำการเขียนและเผยแพร่ความคิดของตนได้ง่าย และนอกเหนือจากนั้นยังมีความคิดเห็น อีกนับล้านจากคนอ่านที่เข้ามา Comment หรือตอบกลับในบล็อกเหล่านั้น ทำให้มีการโต้ตอบกันทางความคิด (interactive) ซึ่งตอบโจทย์เรื่องการสื่อสารระหว่างคนเขียนและคนอ่านได้เป็นอย่างดี

      ดังนั้น Blog จึงเปรียบเสมือนเป็นสื่ออีกชนิดหนึ่ง กลายเป็นแหล่งข้อมูลสำคัญที่เราไม่สามารถมองข้ามมันได้ ด้วยความฉับไวของข้อมูลใน Blog อีกทั้งยังเป็นข้อมูลที่ใหม่สด บางครั้ง ข้อมูลจาก Blog เป็นข้อมูลที่ไม่เคยปรากฎที่ไหนมาก่อนอีกด้วย
     ที่สำคัที่สุดคือ Blog ทำให้ผู้คนสามารถมีสิทธิ์มีเสียง และเขียนถึงเรื่องราวและบทความต่าง ๆ ได้ง่ายดังใจนึก

ประโยชน์ของBlogกับธุรกิจ
      ปัจจุบันนี้ บริษัทชั้นนำต่าง ๆ ของโลก ได้หันมาจับตามอง Blog ซึ่งเป็นรูปแบบของการ Marketing แบบใหม่ เนื่องจาก Blogger จะมีความใกล้ชิดสนิทสนมกับผู้อ่าน Blog สูงมาก เนื่องจากทั้งสองฝ่ายสามารถโต้ตอบกันได้โดยตรง
      การที่ใช้ Blog มาเป็นเครื่องมือทางการตลาดนั้น อาจเรียกได้ว่าเป็น Buzz Marketing บางบริษัทอาจเลือกเจ้าของ Blog ให้เป็น presenter ให้กับผลิตภัณฑ์ของตนเอง เช่นเสนอสินค้า ให้เจ้าของ Blog นำไปเขียนวิจารณ์หรือเขียนถึงใน Blog ของตนเป็นต้น

      บางบริษัทใช้ Blog เพื่อเป็นเครื่องมือสื่อสาร หรือ PR ข่าวสารขององค์กร โดยการใช้ Blog เพื่อประกาศข่าวสารนั้น จะดูมีความเป็นกันเองและเข้าถึงลูกค้าได้อย่างเป็นมิตร เพราะเนื่องจากลูกค้าสามารถฝาก comment หรือสื่อสารกับเจ้าของ Blog ได้ทันที ทำให้บริษัทเอง จะได้ประโยชน์จากคำแนะนำที่ตรงไปตรงมาของลูกค้าอีกด้วย บริษัทชั้นนำต่างเลือกที่จะใช้ Blog มาเป็นเครื่องมือทางการตลาดกันแล้ว โดยบางแห่งใช้ทั้ง Blog อย่างเป็นทางการของบริษัท แถมยังเปิดให้พนักงานได้เขียน Blog ของตนเองอีกด้วย โดยวิธีการนี้นับเป็นการทำการตลาดโดยการสร้างการรับรู้ตราสินค้า (Brand) โดยทางอ้อมอีกด้วย
      นอกเหนือจากองค์กรธุรกิจแล้ว บุคคลที่ทำงานคนเดียวหรือเป็นกลุ่ม สามารถใช้ Blog เพื่อเป็นการเผยแพร่ผลงาน หรือขายสินค้าของตนได้อีกด้วยเช่น ช่างภาพ, ศิลปิน, นักออกแบบ, นักเขียน, นักวาดการ์ตูน , ร้านค้า , ฯลฯ

อยากมี Blog ต้องทำอย่างไร
      การที่เราจะมี blog ได้นั้น เราควรจะรู้จักกันก่อนว่า การทำ blog มีผู้ให้บริการให้เราสามารถสร้าง blog ได้หลายรูปแบบ โดยในแต่ละแบบนั้น มีความต้องการรู้ทางด้านการทำเว็บแตกต่างกันไป ว่ากันถึงแบบหลัก ๆ ก่อนดีกว่า

   1. ผู้ให้บริการ Blog (Blog Hosting , Blog Provider)
   หากคุณไม่ค่อยมีความรู้เรื่องการทำเว็บ หรือไม่รู้จัก blog มาก่อน ก็สามารถมี blog เป็นของตัวเองได้ง่าย ๆ ครับ โดยผู้ให้บริการ blog จะมีการเตรียมระบบรองรับให้เราเรียบร้อยแล้ว โดยสิ่งที่ผู้ให้บริการ blog เตรียมให้เราก็คือ
        - ชื่อโดเมน ที่ใช้เป็นที่อยู่ของ blog เรา โดยส่วนใหญ่จะเป็นชื่อแบบ sub domain คือเป็นชื่อในรูปแบบ myname.blogprovider.com เป็นต้น โดยคำว่า myname นั้นก็จะแทนที่ด้วยชื่อที่เราเลือกไว้ครับ ส่วนตรง blogprovider.com นั้นก็คือชื่อโดเมนของผู้ให้บริการ blog ของเรา
        - ระบบ blog management สิ่งต่อมาที่ผู้ให้บริการ blog เตรียมไว้ให้คือ โปรแกรมการ update blog ต่าง ๆ ไงครับ เราไม่ต้องเขียนโปรแกรมการ update blog ด้วยตัวเอง แต่ทางผู้ให้บริการ จะมีระบบนี้เตรียมไว้ให้เราเลยครับ รวมทั้งพวกเทมเพลท หรือรูปแบบดีไซน์ของ blog ที่เตรียมไว้ให้เราใช้ได้เลย ไม่เสียเวลาออกแบบ
        - พื้นที่เก็บ Blog โดยจำนวนพื้นที่ที่ผู้ให้บริการเตรียมไว้ให้เรานั้น มากน้อยแค่ไหน ขึ้นอยู่กับผู้ให้บริการแต่ละราย
ส่วนเรื่องค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ของการทำ blog กับ ผู้ให้บริการ blog นั้น แตกต่างกันไปตามแต่ผู้ให้บริการ บางแห่งฟรี บางแห่งเก็บค่าบริการรายเดือน ผู้ให้บริการเหล่านี้ก็มีตัวอย่างเช่น Blogger.com , LiveJournal.com , TypePad.com เป็นต้น หากเป็นของไทย ก็ลองไปที่ BlogRevo หรือ exteen.com ดูได้
   2. ใช้ Blog Software ติดตั้งใช้เอง
   การใช้ Blog Software มาติดตั้งใช้เองนั้น ต้องการความรู้ทางด้านการเขียน โปรแกรม หรือติดตั้งโปรแกรมบ้าง แถมยังต้องมีพื้นฐานทางด้านการทำเว็บอีกด้วย เพราะเราอาจต้องทำการติดตั้ง หรือปรับแต่งดีไซน์ด้วยตัวเอง โดยข้อดีของการใช้ Blog Software มาติดตั้งเองคือ เราสามารถควบคุมการใช้บล็อกของเราได้เอง ไม่ว่าจะเป็นพื้นที่เขียนบล็อก ก็มีได้มากตามที่เราต้องการ หรือตามพื้นที่ของ web hosting ที่เราเช่าใช้อยู่
หากเราต้องการใช้ Blog Software เราจะต้องมีสิ่งเหล่านี้อยู่ล่วงหน้าแล้ว นั่นคือ
        - ชื่อโดเมนเนม อาจจะเป็นชื่อโดเมนที่เราจดทะเบียนโดเมนเนมไว้ หรือใช้ sub domain จากเว็บของเราที่มีอยู่แล้ว หากคุณยังไม่เคยมีเว็บมาก่อน ก็ต้องจดทะเบียนโดเมนเนมเป็นของตัวเองก่อน
        - พื้นที่เว็บโฮสติ้ง คุณต้องเช่าพื้นที่เว็บโฮสติ้งไว้ให้พร้อมครับ โดยดูให้ตรงกับความต้องการของโปรแกรม blog software ที่เราจะใช้ เช่น php, cgi หรือ asp
        - โปรแกรม Blog Software โปรแกรมเหล่านี้ มีทั้งแบบเสียสตางค์ซื้อมา เช่น MovableType หรือ หรือบางโปรแกรมก็ให้ใช้ได้ฟรี เช่น WordPress เป็นต้น
     
การใช้ Blog กับองค์กรธุรกิจ
      มีมากมายหลายเหตุผลที่ Blog จะก้าวเข้าสู่องค์กรของคุณ โดยใช้ Blog เป็นตัวเชื่อมความสัมพันธ์ และเป็นเครื่องมือสื่อสารระหว่าง องค์กรของคุณและกลุ่มเป้าหมาย หรือกลุ่มลูกค้าที่สนใจในผลิตภัณฑ์ บริการ หรือธุรกิจของคุณ
และนี่คือตัวอย่างของการใช้ Blog ให้เป็นประโยชน์กับธุรกิจของคุณ


·        Blog ช่วยให้คุณก้าวมาเป็นผู้เชี่ยวชาญในสายงานนั้น
โดยคุณสามารถวาง Positioning ตัวเอง หรือบริษัทของคุณให้เป็นผู้นำในสายงานธุรกิจของคุณ 
·        ใช้ Blog เป็นช่องทางการสื่อสารระหว่างบริษัทของคุณและลูกค้า
เว็บบอร์ด อาจไม่ใช่ช่องทางที่ดีที่สุดแล้ว เมื่อ Blog ก้าวเข้ามาแทนที่โดย ให้ความรู้สึกแบบเป็นส่วนตัว และเป็นมิตรกับลูกค้าได้มากกว่า และ Blog นี่เองที่เป็นช่องทางที่รวดเร็วที่สุด ที่คุณจะสามารถสื่อสารและโต้ตอบหรือคุยกับลูกค้าได้ง่าย อีกทั้งยังสามารถใช้ Blog เพื่อนำเสนอเทคนิคการใช้งานผลิตภัณฑ์ของคุณ หรือแม้กระทั่งใช้เป็นช่องทางในการรับ feedback จากลูกค้า 
·        ใช้ Blog เป็นช่องทางการสื่อสารระหว่างบริษัทของคุณ กับสื่อต่าง
เรียกได้ว่าเป็นความฝันของ PR Agency ต่าง ๆ เลยทีเดียวในการสร้างช่องทางหนึ่งขึ้นมา เพื่อให้สื่อต่าง ๆ เช่นหนังสือพิมพ์ วิทยุ หรือโทรทัศน์ ได้เข้ามาใน Blog ขององค์กร เพื่อเช็คดูว่าคุณมีข่าวใหม่ ๆ อะไรบ้าง เพราะจากเดิมที่สื่อต่าง ๆ จะรอคอยข่าว Press Release จากบริษัทของคุณ อาจจะมีบางสื่อที่ต้องการหาข่าวที่แตกต่างจากสำนักข่าวอื่น ๆ โดยการเข้ามาหาข่าวจาก Blog ของคุณ 
·        การใช้ Blog เพื่อประสานงานภายในองค์กร
ใช้ Blog เป็นที่ทำงานร่วมกันแบบออนไลน์ เช่นใช้เป็นพื้นที่ให้ทีมงานแต่ละคนของ Project นั้น ๆ เข้ามาทำ Brain Storming หรือ update ความคืบหน้าของโปรเจคท์ โดยไม่ต้องเสียเวลามานั่งทำ report ต่าง ๆ อย่างเป็นทางการ แทนการประสานงานต่าง ๆ ด้วยวิธีส่งอีเมล์หากัน ซึ่งการใช้ Blog มาแทนที่การใช้อีเมล์ ทำให้ไม่ต้องมานั่งค้นหาเมล์เก่า ๆ จากในโปรแกรมอย่าง outlook express เพราะ Blog สามารถอ่านบทความย้อนหลังได้ง่าย และสามารถแยกเป็นหมวดหมู่ได้อย่างชัดเจน 
·        ใช้ Blog เพื่อบริหารจัดการข้อมูลความรู้ต่าง ๆ
Blog มีประโยชน์ในทั้งสองทางคือทั้งผู้อ่าน Blog และผู้เขียน Blog โดยปกติแล้ว Blog เป็นช่องทางให้ผู้อ่านสามารถหาข้อมูลต่าง ๆ จาก Blog ของเราได้ง่าย โดยสามารถใช้เป็น knowledge base ภายในองค์กรต่าง ๆ ได้ แต่ในทางกลับกัน ผู้เขียน Blog หรือ Blogger ก็ต้องคอยหาข้อมูลมาเขียน ดังนั้น Blog จึงเปรียบเสมือนเป็นช่องทางการเรียนรู้ ที่ไม่มีวันสิ้นสุด 
·        ใช้ Blog เป็นช่องทางในการหาบุคลากรมาร่วมทำงานด้วย (Recruitment)
ถ้าคุณวางภาพลักษณ์บริษัทของคุณว่าเป็นผู้นำทางด้านธุรกิจแล้ว ผู้คนที่อยู่ในสายงานธุรกิจเดียวกันกับคุณก็จะให้ความสนใจใน Blog ของคุณด้วย เพราะคนเหล่านั้นก็ต้องการ update ข่าวสารในวงการให้กับตัวเองเหมือนกัน หากคนเหล่านี้เข้ามาโต้ตอบหรือพูดคุยกันใน Blog ของคุณ คุณอาจจะเห็นแววของบุคลากรที่น่าสนใจ และชักชวนเขาเพื่อเข้ามาเสริมศักยภาพให้กับองค์กรของคุณก็เป็นได้ 
·        ใช้ Blog เพื่อทดสอบผลิตภัณฑ์ หรือไอเดียใหม่ๆ
ด้วยความที่ Blog ดูเป็นกันเอง จึงให้ความรู้สึกที่ไม่เป็นทางการออกมาได้อย่างไม่ขัดเขิน ดังนั้นบริษัทของคุณสามารถเอา feedback ต่าง ๆ ที่กลุ่มเป้าหมาย หรือลูกค้าของคุณ มาใช้ให้เป็นประโยชน์ได้ เช่น คุณสามารถลองนำเสนอไอเดียใหม่ ๆ ลงไปใน Blog แล้วดูว่าจะมีผู้คนสนใจมาน้อยแค่ไหน หรือว่าให้ feedback กลับมายังไงบ้าง 
·        Blog ช่วยให้เว็บของคุณอยู่อันดับต้น ๆ ใน Search Engine ได้
Google และ Search Engine อื่น ๆ จะให้ความสำคัญกับเว็บไซต์ที่มีการ update ข้อมูลบ่อย ๆ รวมถึงเว็บที่มีการทำ link ไปหาเว็บไซต์ที่เกี่ยวข้อง หรือเว็บที่มี link เข้ามาหามาก ๆ ทั้งหมดที่กล่าวมานั้น คือสิ่งที่ Blog ช่วยคุณได้ เพราะ Blog ทำให้คุณ update ได้ง่ายแบบทุกวัน และยังทำ link ไปหาเว็บอื่นได้ง่าย และหาก Blog ของคุณน่าสนใจ ก็จะมีคนอ้างถึง Blog ของคุณ หรือทำ link เข้ามาหา Blog คุณได้ ลองพิจารณาถึงข้อเท็จจริงเหล่านี้ดูครับ แล้วเว็บ หรือ Blog ของคุณจะมีโอกาสได้อยู่ในอันดับต้น ๆ ของ Search Engine ได้ไม่ยาก